เรื่องวุ่น ๆ ของ “สมองแมว”

เรื่องวุ่น ๆ ของ “สมองแมว”

ความฉลาดของแมวบ้าน คือ ความสามารถของแมวในการแก้ปัญหาและการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม

สัตว์เลี้ยง [1.] สมองของแมวบ้านยาวประมาณ 5 ซม. หนัก 25 – 30 กรัม

[2.] แมวที่มีสมองใหญ่จะถือเป็นแมวที่ฉลาด สามารถวัดได้ตามสมมุติฐานของ Jerison ที่เผยแพร่ออกมาในปี 1973

[3.] ค่ามาตรฐานขนาดของสมองแมวจะอยู่ที่ 1–1.71 เทียบกับมนุษย์คือ 7.44–7.8 ถ้าขนาดสมองใหญ่กว่าค่านี้จะถือว่าสมองใหญ่ ถ้าน้อยกว่าจะถือว่าสมองเล็ก

[4.] สมองแมวที่สุดอยู่ในตละกูล Felidae พบในเสือของชวาและบาหลี

[5.] แมวมีจำนวนเซลล์ในสมองประมาณ 203 ล้านเซลล์

[6.] แมวมีหน่วยความจำในการแยกแยะและจดจำภาพ

[7.] สารอาหารที่ทำให้แมวฉลาดคือ โอเมก้า 3 และ 6, ทอรีน, และโคลีน

[8.] แมวมีความฝันที่ซับซ้อนในขณะนอนหลับ โดยจะจดจำและระลึกถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่ดำเนินไปเป็นลำดับขณะหลับ

เรื่องวุ่น ๆ ของ “สมองแมว”

เปิดวิธีดูแล ‘น้องหมา-น้องแมว’ เมื่อคุณติดเชื้อโควิด

วันนี้ TrueID รวบรวมข้อมูลให้เหล่าทาสน้องหมา น้องแมวทั้งหลาย ได้เตรียมรับมือเมื่อยังต้อง ข่าวสัตว์เลี้ยง ใช้ชีวิตอยู่กับสถานการณ์โควิด-19 ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ และเชื้อวายร้ายโควิด-19 เกิดขึ้นได้ทุกคน โดยข้อมูลจาก สมาคมสัตว์แพทย์ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์แห่งประเทศไทย จะมีข้อปฏิบัติอย่างไรบ้าง มาดูกันข้อความปฏิบัติกับสัตว์เลี้ยง เมื่อคุณป่วยด้วยโรคโควิด-19 กรณีที่เป็นเจ้าของคนเดียว และจำเป็นต้องนำสัตว์เลี้ยงไปฝากที่สถานพยาบาล ให้ผู้ป่วยโควิด-19 หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์เลี้ยง เช่น ลูบหัว กอด หรือจูบสัตว์เลี้ยง เพื่อลดการปนเปื้อนของเชื้อไปยังสัตว์ โทรติดต่อสถานพยาบาลสัตว์เลี้ยงที่สามารถรับฝากดูแลสัตว์เลี้ยงได้ในกรณีที่ท่านต้องเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล โดยผู้ป่วยควรหลีกหลี่ยงการเดินทางไปที่สถานพยาบาลสัตว์ด้วยตัวเอง ผู้ป่วยสามารถให้เพื่อน หรือญาติ ที่ไม่ได้ป่วยด้วยโรคโควิด-19 นำสัตว์เลี้ยงไปสถานพยาบาลสัตว์แทนได้ โดยให้ผู้ที่นำสัตว์เลี้ยงไปสถานพยาบาลสัตว์ สวมเครื่องป้องกันที่เหมาะสม ได้แก่ ถุงมือ หน้ากากอนามัย แจ้งให้สถานพยาบาลสัตว์รับทราบก่อนล่วงหน้า

  • กรณีที่ผู้ป่วยต้องกักตัวในบ้าน มีสมาชิกในครอบครัวไม่ได้ป่วยด้วยโรคโควิด-19 ต้องปฏิบัติอย่างไร ?

ให้ผู้ป่วยโควิด-19 หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์เลี้ยง เพื่อลดการปนเปื้อนของเชื้อไปยังสัตว์เลี้ยง ห้ามทำความสะอาดสัตว์เลี้ยง ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ หรือแอลกอฮอล์ หากมีความประสงค์จะทำความสะอาดตัวสัตว์ให้อาบน้ำด้วยแชมพูสำหรับสัตว์ปกติ ให้สมาชิกครอบกครัวท่านอื่น ๆ เป็นผู้ดูแลสัตว์เลี้ยงแทน แต่ยังคงให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสแบบใกล้ชิด เช่น การจูบสัตว์เลี้ยง การลูบหัว การเลียมือ หรืออวัยวะในร่างกาย หรือ การนำสัตว์เลี้ยงนอนในห้องนอนเดียวกับผู้เลี้ยงเป็นเวลา 14 วัน

  • ผู้ดูแลสัตว์เลี้ยงที่สัมผัสผู้ป่วยควรสวมเครื่องป้องกัน ได้แก่

ถุงมือ สวมหน้ากาก ล้างมือทุกครั้งที่หลังจากสัมผัสสัตว์เลี้ยง หากสัตว์เลี้ยงมีอาการป่วยรุนแรง ให้โทรหาสัตวแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาในการดูแลเบื้องต้น หากสัตว์เลี้ยงมีอาการป่วยแบบรุนแรง ให้โทรแจ้งสัตวแพทย์ล่วงหน้า และให้สมาชิกในครอบครัวที่ไม่ได้ป่วยด้วยโรคโควิด-19 เป็นผู้นำพาสัตว์เลี้ยงไปยังสถานพยาบาลสัตว์