อุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ โรคยอดฮิตที่ป้องกันได้

อุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ โรคยอดฮิตที่ป้องกันได้

ช่วงปลายปีสภาพอากาศเริ่มเย็นลง ทำให้ประชาชนนิยมเดินทางไปท่องเที่ยว พักผ่อนหย่อนใจมากขึ้น พบปะสังสรรค์ตามร้านอาหารและแหล่งท่องเที่ยวที่บรรยากาศดี

ข่าว ทำให้อาจมองข้ามเรื่องของความสะอาดของอาหาร อาจเกิดโรคอาหารเป็นพิษ และอุจจาระร่วงตามมา สคร.9 แนะยึดหลัก “สุก ร้อน สะอาด” โดยขอให้รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ หากเป็นอาหารค้างมื้อ ควรนำมาอุ่นร้อนให้ทั่วถึงก่อนรับประทาน ดื่มน้ำสะอาด ล้างวัตถุดิบให้สะอาดก่อนนำมาปรุงประกอบอาหาร เพื่อลดความเสี่ยงของการปนเปื้อนเชื้อโรค หลีกเลี่ยงอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ หากอาหารมีรูป รส กลิ่น สี ผิดปกติไม่ควรนำมารับประทาน นายแพทย์ทวีชัย วิษณุโยธิน ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา กล่าวถึง โรคอาหารเป็นพิษว่า เป็นโรคระบบทางเดินอาหาร สาเหตุเกิดจากการปนเปื้อนของสารเคมี โลหะหนัก หรือจากการรับประทานอาหารและน้ำที่มีเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายอุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน ร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น ปวดศีรษะ คอแห้งกระหายน้ำ และอาจมีไข้ได้ ในรายที่มีอาการถ่ายอุจจาระมาก ๆ ผู้ป่วยอาจมีภาวะช็อกหมดสติได้ การช่วยเหลือเบื้องต้นควรให้จิบสารละลายเกลือแร่ โอ อาร์ เอส บ่อย ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ

อุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ โรคยอดฮิตที่ป้องกันได้

สถานการณ์โรคอาหารเป็นพิษในเขตสุขภาพที่ 9 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม -12 พฤศจิกายน 2565 พบผู้ป่วย 1,371 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต

แยกเป็นรายจังหวัด ดังนี้ จังหวัดสุรินทร์ มีผู้ป่วย 450 ราย จังหวัดนครราชสีมา มีผู้ป่วย 428 ราย จังหวัดบุรีรัมย์ มีผู้ป่วย 342 ราย และจังหวัดชัยภูมิ มีผู้ป่วย 151 รายส่วนโรคอุจจาระร่วง เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากการรับประทานอาหารและน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส พยาธิ สารพิษและสารเคมี ส่งผลให้เชื้อไวรัสเจริญเติบโตได้ดี ติดต่อง่ายและแพร่กระจายรวดเร็ว เช่น ในน้ำดื่ม น้ำแข็ง เชื้อไวรัสก่อโรคที่พบบ่อย คือ ไวรัสโรต้า และไวรัสโนโร ซึ่งมักก่อโรคในเด็กเล็ก ทำให้เกิดอาการปวดท้อง ถ่ายเหลว มีไข้ต่ำ ๆ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน เนื่องจากเชื้อไวรัสทำให้เยื่อบุลำไส้บางลง ข่าวสุขภาพ ส่งผลให้การดูดซึมสารอาหารลดลง ผู้ที่มีภาวะขาดน้ำจะมีอาการรุนแรง เช่น ริมฝีปากแห้ง ปัสสาวะลดลง ตาโหล เป็นต้น ซึ่งอาการดังกล่าว เป็นสัญญาณอันตรายในกลุ่มเด็กทารกและเด็กเล็ก อาจทำให้ช็อก หมดสติ และเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ สถานการณ์โรคอุจจาระร่วงในเขตสุขภาพที่ 9 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม -12 พฤศจิกายน 2565 พบผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วง 57,731 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต แยกเป็นรายจังหวัด ดังนี้ จังหวัดนครราชสีมา มีผู้ป่วย 18,823 ราย จังหวัดบุรีรัมย์ มีผู้ป่วย 15,997 ราย จังหวัดสุรินทร์ มีผู้ป่วย 13,753 ราย และจังหวัดชัยภูมิ มีผู้ป่วย 9,158 ราย พบผู้ป่วยมากที่สุดในกลุ่มอายุ 0-4 ปี รองลงมาคือกลุ่มอายุ 65 ปี ขึ้นไป และกลุ่มอายุ 5-9 ปี ตามลำดับ