ออกแบบอย่างไร? ให้โดนใจคนจ้างงาน ผู้ประกอบการ

“เศรษฐกิจสร้างสรรค์” หรือ Creative Economy เป็นแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจที่ประเทศไทย ภายใต้การนำสินทรัพย์ ทุนทางวัฒนธรรม เทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมถึงความคิดสร้างสรรค์ เข้ามาเป็นเครื่องมือสำคัญทำให้ประเทศมีเอกลักษณ์ ซึ่งสามารถส่งออกให้ต่างชาติยอมรับได้
ข่าว รายงานการศึกษาการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ปี 2565 สาขาการออกแบบ (Design) จัดทำโดย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ระบุว่า อุตสาหกรรมการออกแบบของไทยมีจำนวนแรงงานประมาณ 2 หมื่นคน และมีรายได้รวมของธุรกิจในอุตสาหกรรมสูงเกือบ 2 พันล้านบาทในปี 2564 ทั้งยังเชื่อมโยงใกล้ชิดและช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมแฟชั่น อุตสาหกรรมออกแบบและผลิตบรรจุภัณฑ์ รวมทั้งอุตสาหกรรมสถาปัตยกรรม โดยช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าและบริการต่าง ๆ อีกด้วย ขณะที่ สาขาสถาปัตยกรรม (Architecture) ซึ่งมีแรงงานประมาณ 3.6 หมื่นคน สร้างรายได้รวมประมาณ 3 หมื่นล้านบาทในปี 2564 เชื่อมโยงใกล้ชิดกับอุตสาหกรรมการก่อสร้างและอุตสาหกรรมพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของไทย ศักยภาพของแรงงานสร้างสรรค์ในสาขานี้ สามารถยืนยันได้จากการที่ผลงานของสถาปนิกไทยได้รับรางวัลในระดับนานาชาติ เช่น Architecture Masterprize โดยประเทศไทยได้รับการจัดอันดับที่ 16 จาก 60 ประเทศ มาร่วมพลิกโฉมอุตสาหกรรมสถาปัตยกรรมไทย
เพื่อก้าวเป็นดาวรุ่งที่สดใส ด้วยเป้าหมายรายได้เติบโตเพิ่มขึ้นเฉลี่ยต่อปีร้อยละ 5.8 ในช่วงปี 2566-2570 “จากการเติบโตของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ หรือ Creative Industries ประเทศไทยไว้ทั้งหมด 15 สาขา
สาขาการออกแบบและสาขาสถาปัตยกรรม เป็นสาขาดาวรุ่นที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศได้มหาศาล” ดังนั้น การเตรียมพร้อมศักยภาพ ทรัพยากรบุคคลจึงมีความสำคัญอย่างมาก เพราะการจะสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ หรือคุณค่าทางสังคมได้ ต้องผลิตพัฒนาคนให้กลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน ออกแบบอย่างไร? ให้โดนใจคนจ้างงาน ผู้ประกอบการ “ออกแบบ” งานกระบวนการคิดสร้างสรรค์ ข่าวออกแบบ ไม่ใช่เพียงการวาดรูป “คณะการออกแบบและสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.ศรีปทุม” มหาวิทยาลัยที่สอนการเรียนออกแบบ Design เท่ากับการเรียนกระบวนการคิดและถ่ายทอดให้แก่ผู้อื่นอย่างเข้าใจได้ ไม่ใช่เพียงศาสตร์แห่งการวาดรูป ซึ่งคำว่า Design Thinking หรือการคิดเชิงออกแบบ เป็นการเรียนการสอนที่ไม่ได้จำกัดเฉพาะ “ธีรบูลย์ พิศาลอภิพงศ์” คณบดีคณะการออกแบบและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เล่าว่าม.ศรีปทุม จะให้ความสำคัญในการเรียนที่ตอบโจทย์ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมในประเทศ และต่างประเทศ ซึ่งนี่คือแนวทางที่มหาวิทยาลัยขับเคลื่อนมาตลอด โดยที่ผ่านมาได้มีการปรับหลักสูตรการเรียนการสอนให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงาน ของโลก และมีการเปิดหลักสูตรระยะสั้น เชื่อมโยงอุตสาหกรรมภายนอก