กพช. เคาะใช้ ‘น้ำมันดีเซล-น้ำมันเตา’ แทนก๊าซธรรมชาติราคาสูง

กพช เคาะใช้ น้ำมันดีเซล-น้ำมันเตา แทนก๊าซธรรมชาติราคาสูง

ที่ประชุม กพช. วันนี้ เห็นชอบใช้ ‘น้ำมันดีเซล-น้ำมันเตา’ แทนก๊าซธรรมชาติที่ราคาสูง

เศรษฐกิจ ในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปี 65 พร้อมงัด มาตรการลดต้นทุน หวังควบคุมอัตราค่าไฟปีหน้า นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ซึ่งมี พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ที่ประชุมได้มีการพิจารณาสถานการณ์ความไม่สงบระหว่างสหพันธรัฐรัสเซียและประเทศยูเครนที่ยังไม่มีข้อยุติ ส่งผลให้ราคาก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ในตลาดโลกมีความผันผวนและปรับตัวเพิ่มขึ้นในระดับสูงจากมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียของหลายประเทศทั่วโลก โดยทำให้เกิดการตึงตัวของอุปทานก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน รวมถึงการอ่อนตัวของค่าเงินบาท โดยที่ประชุม กพช. มีมติเห็นชอบมาตรการบริหารจัดการพลังงานในสถานการณ์วิกฤติราคาพลังงาน ในช่วงเดือนตุลาคม – ธันวาคม 2565 เช่น มาตรการตามแนวทางการบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ ปี 2565 ด้วยการนำน้ำมันดีเซลและน้ำมันเตา มาทดแทนก๊าซธรรมชาติที่มีราคาสูง ซึ่งตอนนี้ราคาก๊าซธรรมชาติ อยู่ที่ 26-29 USD/MMBtu แต่หากราคาก๊าซธรรมชาติลดลง ก็จะสั่งมาสำรองสำหรับความมีเสถียรภาพ ถ้าราคาสูงขึ้นไปจะบริหารโดยการใช้น้ำมันดีเซลและน้ำมันเตาเข้ามาแทน ซึ่งเป็นไปตามมติของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน มีการจัดการแหล่งก๊าซในประเทศที่อยู่ในอ่าวไทยและบนบก รวมถึงพื้นที่ที่เป็นพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยกับมาเลเซียในการเพิ่มเติมช่วง 2 เดือนนี้ ให้ได้ประมาณ 100 ล้านลูกบาศก์ฟุต มีการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะโรงที่ 8 ซึ่งได้มีการดำเนินการอยู่แล้ว 555 gigawatt-hour รวมถึงการรับซื้อไฟฟ้าระยะสั้นจากพลังงานทดแทนที่เป็นโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก และขนาดเล็กมาก ประมาณ 163 gigawatt-hour สำหรับมาตรการที่ดำเนินการเพิ่มเติม คือจะมีการจัดหาน้ำมันดีเซลเพิ่มเติมสำหรับโรงไฟฟ้าก๊าซเทอร์ไบน์ สามารถที่จะใช้ก๊าซเพิ่มเติมได้ จะรีบดำเนินการตรงนี้ประมาณ 20 ล้านลิตร และจะนำน้ำมันเตาเข้ามาเพิ่มขึ้น 0.5 เปอร์เซ็นต์ ที่โรงไฟฟ้าบางปะกง ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าที่สามารถให้เรือเข้าไปส่งได้ รวมถึงรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานน้ำระยะสั้นจาก สปป.ลาว และมีการนำโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะโรงที่ 4 มาผลิตไฟฟ้า “มาตรการที่เสนอทางคณะกรรมการ กพช. เพิ่มเติมไปด้วยก็คือว่า เมื่อเราบริหารจัดการในเรื่องของราคาพลังงานในช่วงที่มีความผันผวนแล้ว สิ่งหนึ่งที่จะต้องขอความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนทั่วไป รวมถึงกิจการต่างๆ ที่เป็นธุรกิจด้วย ก็คือการประหยัดพลังงาน เช่นการตั้งอุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียส หรือปิดไฟส่องสว่างในพื้นที่ที่ไม่จำเป็น กำหนดเวลาเปิด-ปิดป้าย LED ต่างๆ ถ้าเผื่อมีการลดหรือทำอะไรต่างๆ เหล่านี้ได้ ก็ควรจะต้องมีการดำเนินการกัน แต่มาตรการนี้เป็นการขอความร่วมมือ และจะกลายเป็นมาตรการที่มีผลบังคับ หากราคา LNG เพิ่มสูงขึ้นเกิน 50 USD/MMBtu เป็นเวลาติดต่อกัน 14 วันขึ้นไป” ปลัดกระทรวงพลังงาน ระบุ

กพช เคาะใช้ น้ำมันดีเซล-น้ำมันเตา แทนก๊าซธรรมชาติราคาสูง

ทั้งนี้ ที่ประชุม กพช. ได้มอบหมายให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบมาตรการบริหารจัดการพลังงานฯ แต่ละมาตรการ

ได้แก่ สำนักงาน กกพ. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) ข่าวเศรษฐกิจ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ (ชธ.) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เร่งดำเนินการในมาตรการ โดยต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ซึ่งที่ประชุม กพช. ได้มอบหมายให้ สำนักงาน กกพ. ติดตามสถานการณ์ราคาพลังงาน โดยเปรียบเทียบราคา Spot LNG นำเข้ากับราคาเชื้อเพลิงและต้นทุนในแต่ละมาตรการ เพื่อนำมาพิจารณาในการที่จะคงการใช้มาตรการที่มีความคุ้มค่า และเลิกใช้มาตรการที่ไม่มีความคุ้มค่าโดยคำนึงถึงประโยชน์ต่อประชาชนเป็นสำคัญ เห็นชอบกำหนดอัตราค่าบริการไฟฟ้าสีเขียว (Utility Green Tariff) ในโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าขายปลีก

1. อัตราค่าบริการไฟฟ้าสีเขียวจากโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่มีอยู่เดิมในระบบไฟฟ้า ซึ่งเป็นการนำใบรับรองการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate: REC) ของโรงไฟฟ้าเดิมที่รัฐมีกรรมสิทธิ์มาให้บริการร่วมกับการให้บริการพลังงานไฟฟ้า และเป็นการให้บริการในลักษณะที่ผู้ใช้ไฟฟ้าไม่ต้องเจาะจงแหล่งที่มาของไฟฟ้าและ REC ในการขอรับบริการ โดยมีอัตราค่าบริการส่วนเพิ่ม (Premium) เพิ่มเติมจากอัตราค่าไฟฟ้าตามปกติที่ครอบคลุมต้นทุนค่า REC รวมถึงองค์ประกอบอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) จะกำหนดต่อไป

2. อัตราค่าบริการไฟฟ้าสีเขียวจากโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนใหม่ และโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเดิมในระบบไฟฟ้าทั้งของรัฐและเอกชน ซึ่งเป็นการให้บริการพลังงานไฟฟ้าและ REC ซึ่งมาจากแหล่งเดียวกัน โดยผู้ใช้ไฟฟ้าต้องเจาะจงกลุ่มโรงไฟฟ้า (Portfolio) ในการรับบริการ และอัตราค่าบริการกำหนดจากต้นทุนการให้บริการพลังงานไฟฟ้าและ REC ของแต่ละ Portfolio รวมถึงองค์ประกอบอื่นๆ ตามที่ กกพ. จะกำหนดต่อไป ทั้งนี้ ในการกำหนดองค์ประกอบและโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าสีเขียวทั้งสองรูปแบบ รวมถึงการจัดสรรต้นทุนการให้บริการแก่ผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วไปที่ครอบคลุมต้นทุนสาธารณะ และวิธีการและเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการ กกพ. จะพิจารณากำกับดูแลภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 ให้โปร่งใสและเป็นธรรมต่อผู้ใช้ไฟฟ้าทุกกลุ่ม

แนะนำข่าวเศรษฐกิจ อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : ผลสำรวจ “ของแพง” กับ “คนจน” ทำให้เงินไม่พอใช้